อยากมีภูมิคุ้มกันดี ต้องรู้จัก “เบต้ากลูแคน” !

อยากมีภูมิคุ้มกันดี ต้องรู้จัก “เบต้ากลูแคน” !

หลายๆ คนคงอยากมีสุขภาพดี และภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ซึ่งกว่าจะได้มานั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของอาหารการกิน และหากกล่าวถึงสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยแล้วล่ะก็คงหนีไม่พ้น “เบต้ากลูแคน” ว่าแต่เราสามารถพบเจอเบต้ากลูแคนได้จากอาหารชนิดใดบ้าง? ไปหาคำตอบพร้อมกันเลยครับ

อันที่จริงแล้ว เบต้ากลูแคน Beta glucan (βglucan) เป็นสารอาหารที่เราสามารถพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ โดยเฉพาะในอาหารที่เรารับประทานกันในแต่ละมื้อ ไม่ว่าจะเป็นธัญพืช ข้าวโอ๊ต รำข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ รวมไปถึงเชื้อราที่รับประทานได้อย่างเห็ด และยีสต์ ซึ่งหากเราไม่ได้รับประทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำ เนื่องจากข้อจำกัดในการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ก็สามารถเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีเบต้ากลูแคนได้เช่นกัน แต่ควรเลือกยี่ห้อที่มีความน่าเชื่อถือ และผ่านมาตรฐานรับรองความปลอดภัยเสมอ

 ประโยชน์ของเบต้ากลูแคน

  • ฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ตามปกติ
  • ปรับระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ให้มีความสมดุล
  • ชะลอน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ลดระดับความต้องการอินซูลิน
  • ลดการเกิดออฟฟิศซินโดรม ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้า
  • ฟื้นฟูการอักเสบของระบบประสาท ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
  • กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้มีประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรค

 

 

อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพ และระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เราจะพึ่งพา “เบต้ากลูแคน ” อย่างเดียวไม่ได้ ควรรับประทานสารอาหารชนิดอื่นๆ ที่ดีต่อภูมิคุ้มกันร่วมด้วย เพราะจะยิ่งเป็นการช่วยให้ระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เช่น

  • ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารสำคัญที่พบได้ในผลมะเขือเทศ จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งใน 600 ชนิด พบไลโคปีนได้ใน มะเขือเทศ แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และมะละกอ เป็นต้น ซึ่งไลโคปีนเป็นสารประกอบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น
  • โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างพลังงาน หากอายุมากขึ้นโคเอนไซม์คิวเทนในร่างกายจะลดลง ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคได้หลายชนิด เช่น โรคชรา นอกจากนี้ความเครียด การติดเชื้อ การรับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ อาจทำให้ปริมาณ Coenzyme Q10 ในร่างกายไม่เพียงพอ โดยแหล่งที่พบโคเอนไซม์คิวเทนตามธรรมชาติ ได้แก่ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไต หัวใจ น้ำมันปลา ปลาทะเลน้ำลึก ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันถั่วเหลือง ผัก รำข้าว ซีเรียล น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
  • แอล-อาร์จินีน (L-Arginine) ในทางโภชนาการจัดเป็นกรดแอมิโนที่จำเป็นสำหรับทารก และเด็กที่กำลังเจริญเติบโตโดยแอล-อาร์จินีน จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายผลิต ไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) เพื่อช่วยในเรื่องการขยายตัวของหลอดเลือด รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการคงความเป็นหนุ่มเป็นสาว ช่วยชะลอความแก่ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และยังช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นได้อีกด้วย แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เนื้อสัตว์ (ส่วนที่เป็นเนื้อแดง) เนื้อจากสัตว์ปีก รวมถึงอาหารทะเล ถั่วเมล็ดแห้ง ผักโขม ไข่ โดยเฉพาะไข่แดง เป็นต้น
  • ซิงค์ อะมิโน แอซิด คีเลต (Zinc Amino Acid Chelate) หรือเรียกสั้นๆ ว่า คีเลตซิงค์” (Chelated  Zinc) เป็นการพัฒนาซิงค์ให้มีรูปแบบที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนสำคัญต่อการสร้างโปรตีนและคอลลาเจน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และการทำงานของระบบสมอง แหล่งที่พบได้ในธรรมชาติ ได้แก่อาหารทะเล หอยนางรม เนื้อสัตว์ เนื้อวัวไม่ติดมันแบบย่าง เนื้อลูกแกะ ตับลูกวัว ไข่ นมผงปราศจากไขมัน มัสตาร์ดแบบแห้ง จมูกข้าวสาลี แป้งงา เนยงา ถั่วลิสง เมล็ดฝักทอง เมล็ดแตงโม เม็ดกวยจี๊ ผงโกโก้ ช็อกโกแลต บริเวอร์ยีสต์ เป็นต้น

 

สารอาหารชนิดต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนให้ผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน และระบบอื่นๆ ในร่างกายไม่น้อยไปกว่ากัน ดังนั้น การรับประทานเบต้ากลูแคนร่วมกับสารอาหารชนิดอื่น เช่น ไลโคปีน โคเอนไซม์ คิวเทน แอล-อาร์จินีน และซิงค์ อะมิโน แอซิด คีเลต จึงน่าจะเป็นทางเลือกในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าการรับประทานสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. บทความเรื่อง “ทำความรู้จักเบต้ากลูแคน ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับคนทุกวัย” https://bit.ly/36F0ZhP
  2. บทความเรื่อง “ยีสต์เบต้ากลูแคน หัวใจสำคัญของการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน” www.phyathai.com/articledetail/
  3. บทความเรื่อง “กินมะเขือเทศอย่างไรได้ไลโคปีน (lycopene) สูง” https://bit.ly/3ikqzOH
  4. บทความเรื่อง “คิวเทน ประโยชน์ของโคเอนไซม์คิวเทน 8 ข้อ ! (Coenzyme Q10)” https://bit.ly/3rcIpqR
  5. บทความเรื่อง “Arginine / อาร์จินีน” https://bit.ly/3kpqrjq

เชิญแสดงความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.