“Gig” มากกว่า Freelance แต่ไม่ใช่งานประจำ

“กิ๊ก (Gig)” มากกว่าเพื่อน..แต่ไม่ใช่แฟน ความหมายนี้หลายคนคงรู้จักกันดี แต่ “Gig Economy” ผมเชื่อว่าหลายคนอาจจะงงว่ามันคืออะไร? และถ้าหากเอ่ยถึงงานประเภท Freelance แล้วล่ะก็ คงต้องมีคนร้องอ๋อกันแน่ๆ ซึ่ง Gig Economy ก็คือ ระบบเศรษฐกิจที่รองรับการทำงานของเหล่าผู้คนที่ทำงานอิสระนั่นเอง ว่าแต่มันมีความเป็นมาเป็นไปอย่างไร..เราลองมาคำตอบไปพร้อมๆ กันครับ

ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา Gig Economy ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยหากให้อธิบายความหมายโดยชัดเจนก็คือ เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ที่เน้นการจ้างงานในรูปแบบชั่วคราว สัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ Outsource หรือแม้แต่คนที่ทำธุรกิจส่วนตัวแบบที่ไม่มีลูกน้อง ก็อยู่ในคำจำกัดความของคำนี้เช่นกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงคนที่ทำงานประจำ แต่แบ่งเวลามารับงานนอกเพื่อหารายได้เสริมอีกทาง แต่ทั้งนี้การทำงานแบบ Gig Economy นั้น มีข้อแตกต่างจากการรับงานแบบฟรีแลนซ์อยู่บ้าง นั่นก็คือ การทำงานฟรีแลนซ์จะรับทำงานประเภทเดียว แต่ Gig Economy จะสามารถรับงานได้หลาย ๆ ประเภทในเวลาเดียวกัน

สำหรับที่มาของคำว่า “Gig” ที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้ มีที่มาจากศัพท์แสลงที่หมายถึง วงดนตรีที่รับจ้างเป็นครั้งๆ จนถูกต่อยอดออกไปเป็นคำว่า “Gig Worker” เพื่อใช้เรียกเหล่าบรรดาพนักงานพาร์ทไทม์ หรือฟรีแลนซ์ในช่วงศตวรรษที่ 19 ก่อนถูกใช้งานกันอย่างกว้างขวางจริงๆ ในช่วงปี 2009 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจซับไพรม์ (Subprime Crisis) จนคนต้องออกมาทำงานอิสระกันเป็นจำนวนมาก และจากการเติบโตอย่างมหาศาลของเหล่า Gig นี่เอง ที่ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบ Gig Economy หรือระบบเศรษฐกิจที่มีการทำงานเป็นครั้งคราวเป็นตัวแปรหลักขึ้นมา และเริ่มขยายไปในหลาย ๆ ประเทศรวมไปถึงประเทศไทยตามการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เองก็หันมาให้ความสนใจที่จะทำงานในรูปแบบ Gig Worker กันมากขึ้นอีกด้วย

สำหรับสถานการณ์ Gig Economy ในประเทศไทยนั้น มีอัตราการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเห็นได้จากการเปิดตัวของเว็บไซต์หางานสำหรับชาวฟรีแลนซ์โดยเฉพาะ และแพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่ๆ อย่างเช่น Grab และ Lineman เป็นต้น ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ Gig Worker ในไทยเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องหันกลับมาคำนึงถึงเรื่องการปรับตัวทั้งฝั่งของนายจ้าง และในส่วนของคนทำงานที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน เนื่องจากเทรนด์การทำงานยุคใหม่ของกลุ่มคนหนุ่มสาวในประเทศไทยนั้น ต้องการความมีอิสระ และยืดหยุ่นในการทำงานที่มากขึ้น

โดยได้มีการประเมินไว้ว่า คนจำนวน 10 คน จะมีคนที่เป็น Gig Worker อยู่ถึง 3 คน ที่ทำงานอิสระ หรืองานครั้งคราวอย่างเต็มตัว รวมไปถึงการทำธุรกิจในรูปแบบคนเดียว รับจ้างทั่วไป ธุรกิจส่วนตัว ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งสินค้าเดลิเวอรี และลงทุนในหุ้น หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ที่เป็นงานนอกเหนือจากการทำงานประจำ และที่สำคัญ คือ คนรุ่นใหม่ยุคนี้ ไม่นิยมในการเข้าสู่ระบบงานประจำ ทำให้มีการประเมินต่อไปอีกว่า แนวโน้มของแรงงานไทยยุคใหม่จะเป็นรูปแบบ Gig Worker เพิ่มสูงขึ้นตามการพัฒนาของสังคม และเทคโนโลยี

 

ปัจจัยสนับสนุนให้ Gig Economy เติบโตประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยหลัก คือ

  1. ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปคนรุ่นใหม่ไม่ได้มองหาความมั่นคงในหน้าที่การงานอีกต่อไป แต่พวกเขามองหาช่องทางในการทำเงินที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าการทำงานประจำ รวมถึงความยืดหยุ่นในรูปแบบของการทำงาน เพราะ Gig Worker สามารถกำหนดชั่วโมงทำงานได้ตามใจตัวเอง
  2. งานที่มี..ไม่สม่ำเสมอ หลายบริษัทไม่จำเป็นต้องมีนักออกแบบกราฟิก นักพัฒนาฯ และนักการตลาดประจำบริษัท ฯลฯ พวกเขาจึงหันไปพึ่งแพลตฟอร์มหางาน เพื่อจ้าง Gig Worker มาช่วยทำงานแบบออนดีมานด์ ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่บริษัทได้อีกด้วย
  3. ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากเศรษฐกิจที่ซบเซา หลายบริษัทจึงต้องหากลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อเอาตัวรอด หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาคือการลดจำนวนพนักงานประจำ และจ้างคนมาทำงานในแบบออนดีมานด์แทน
  4. เทคโนโลยี และเครือข่ายสังคมออนไลน์เพราะโลกในยุคออนไลน์ทำให้ผู้คนสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานได้ และยังเปิดโอกาสให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
  5. แนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปันหรือSharing Economy เป็นแนวคิดในการนำของที่มีอยู่มาแบ่งปันให้คนอื่นๆ ได้ใช้งาน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทำให้เกิดงาน และช่องทางในการหารายได้รูปแบบใหม่ๆ เช่น Airbnb สตาร์ทอัพการแบ่งปันที่พักชื่อดัง ที่หากบ้านไหนมีห้องว่าง และต้องการหารายได้เสริม ก็สามารถปล่อยห้องว่างให้คนอื่นมาเช่าได้ เป็นต้น

Gig Economy จึงเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา บางเรื่องอาจเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึง อีกทั้งยังข้องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ หากใครก็ตามที่ยังยึดติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ และไม่ยอมปรับตัวให้ทันก็อาจตกขบวนรถไฟแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้โดยไม่รู้ตัว

สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะทำงานอะไร รูปแบบไหน สิ่งหนึ่งที่ผู้ชายอย่างเราจะละเลยไปไม่ได้ นั่นก็คือ การใส่ใจดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะการความเครียดจากการทำงานเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และส่งผลเสียโดยตรงต่อสมรรภาพของผู้ชาย ดังนั้น การเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร DURO ที่ช่วยเสริมสมรรถภาพของผู้ชาย ไปพร้อมๆ กับเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแลสุขภาพของผู้ชายยุคใหม่อย่างแท้จริงครับ

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. บทความเรื่อง “Gig Economy ทัศนคติที่เปลี่ยนไปของวัยทำงาน

https://www.bangkokbanksme.com/en/gig-economy-attitude-working

  1. บทความเรื่อง “Gig Economy คืออะไร รู้จักกับการทำงานแบบใหม่ที่คนยุคนี้ควรรู้”

https://blog.pttexpresso.com/what-is-gig-economy-and-why-office-workers/

  1. บทความเรื่อง “Gig Economy โลกยุคใหม่ของคนทำงาน”

https://www.maruey.com/article/contentinjournal/788

  1. บทความเรื่อง “Gig Economy คือ การทำงานแบบไหน? พร้อมเผย 10 อาชีพทำเงิน ประจำปี 2018”

https://campus.campus-star.com/jobs/69179.html

  1. บทความเรื่อง “Gig Economy: แรงงานแห่งอนาคต”

https://getlinks.co/blog/gigeconomy/

  1. บทความเรื่อง “มาทำความรู้จัก Airbnb สตาร์ทอัพการแบ่งปันที่พักชื่อดัง”

https://startitup.in.th/introducing-airbnb-startup/

เชิญแสดงความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.